พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม


พระสมเด็จวัดระฆัง คือหนึ่งในมงคลวัตถุที่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณ เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่าอย่างอเนกอนันต์ ความเป็นมาของชีวประวัติ การสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ยังเป็นสิ่งที่เราท่านจะต้องสืบต่อและค้นหาต่อไป แต่น่าเสียดายที่ความรู้ทางด้านนี้นับวันจะสืบค้นได้ยากขึ้นคงเป็นเพราะด้วย เวลาที่ผ่านมานาน และขาดการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ผมเองพยายามสืบค้นจากหนังสือต่างๆ หลายสิบเล่มแต่ถ้าจะนับจริง ๆ แล้วเกือบ ๆ ร้อยเล่มเห็นจะได้ ก็ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ผู้หนึ่งเท่านั้นที่มีจิตอันมั่นคงเคารพกราบ ไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อยู่เป็นนิจหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้พยายามสืบค้นกันต่อไปด้วยจิตใจอันมุ่ง มั่น และเปี่ยมด้วยความเคารพบูชา และพิจารณาด้วยสติปัญญายึดมงคล ๓๘ ประการ ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ
จากการสืบค้นจากข้อเขียน และเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงของอาจารย์ และผู้รู้หลายท่านยืนยันตรงกันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๔๘ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรในพรรษาที่ ๕ ในเรื่องการสร้างเป็นพระสมเด็จควรเริ่มจากปีที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้ว คือ ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ (ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ถือว่าท่านได้ สร้างให้กับพระอาจารย์ และผู้มีพระคุณของท่าน) การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่ากดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่าน ยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้นๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว ในเรื่องผงวิเศษของท่านนั้นจะทำอยู่ตลอดที่ท่านมีเวลาหรืออาจกล่าวได้ว่าตาม อัธยาศัย การทำผงวิเศษแต่ละครั้งสามารถสร้างพระได้หลายพรรษา และพรรษาที่ท่านได้ทำผงวิเศษมากที่สุด (นับจากปีที่ท่านอุปสมบท) ได้แก่ สาม ห้า เจ็ด เก้า สิบเอ็ด สิบหก ยี่สิบ ยี่สิบแปด และสามสิบสาม กล่าวกันว่าการสร้างพระสมเด็จของท่านนั้นกระทำทุกพรรษา มากบ้างน้อยบ้างตามแต่เวลาที่ท่านพึงมี ผงวิเศษของท่านก็ยังมอบให้แก่วัดต่างๆ ที่มาขอเพื่อเป็นส่วนผสมในการสร้างพระก็มาก หลังจากที่ท่านสิ้นชีพิตักษัยแล้ว (ปีที่ท่านสิ้น พ.ศ. ๒๔๑๕) ผงวิเศษก็ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง
จากการบันทึกของจดหมายเหตุว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีพระราชประสงค์แต่งตั้งให้ท่านมีฐานานุกรมศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ด้วยเห็นว่าท่านมีความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์ และทางวิปัสสนาธุระเป็นอย่างยิ่งแต่ท่านได้ทูลขอตัวไม่รับสมณศักดิ์นั้น โดยได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และเมื่อไปพำนักยังท้องถิ่นที่จังหวัดใด ในแถบนั้นมีพระชนิดใดที่ผู้คนกราบไหว้ท่านก็จะสร้างล้อแบบพิมพ์ชนิดนั้นตาม แบบของท่าน เช่น เนื้อกระเบื้อง เนื้อดินเผา เนื้อผง เนื้อตะกั่วห่อชา เป็นต้น แล้วแจกจ่ายให้กับผู้คนในถิ่นนั้นๆ ที่เหลือบรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ด้วยประการนี้เราจึงพบว่าในหลายจังหวัดมีพระสมเด็จในพิมพ์ แบบและเนื้อต่างๆ บรรจุกรุไว้มากมาย เช่น ราชบุรี อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร เชียงราย เป็นต้น
ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมภาณีแห่งวัดระฆังได้ เล่าให้ฟังว่า พระสมเด็จองค์แรกที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างคือ “พระสมเด็จหลังเบี้ย” หรือ “พระสมเด็จดินสอเหลือง” ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือของคนโบราณ ด้านหน้าเป็นรูปพระสมเด็จทรงพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังแต่งให้นูนเหมือนหลังเบี้ยจั่น สร้างด้วยดินสอเหลือง ผสมกล้วยน้ำไทย น้ำอ้อย น้ำตาลเคี่ยว น้ำมันทัง และมวลสาร ท่านชุบ วินทวามร อดีตผู้พิพากษา ซึ่งเป็นพีชาย (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) นักนิยมพระสมเด็จในสมัยโบราณ ท่านได้ศึกษาและรับฟังจากผู้ใหญ่หลายๆ ท่านบอกต่อกันมาว่า ปีที่สร้างน่าจะอยู่ราวๆ พ.ศ. ๒๓๕๑ และเชื่อว่าสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แกะพิมพ์นี้เองเป็นพิมพ์แรก ในปัจจุบันสมเด็จหลังเบี้ยหาดูไม่ได้แล้ว ได้ทราบว่า นายเปลื้อง แจ่มใส ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานหล่อพระที่บ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นผู้หนึ่งที่ครอบครอง ต่อมาได้มอบพระสมเด็จหลังเบี้ยนี้ให้แก่ นายวิจิตร แจ่มใส ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์หลายสมัย ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว และไม่ทราบว่าพระสมเด็จหลังเบี้ยตกไปอยู่กับท่านผู้ใด
พระสมเด็จหลัง เบี้ยนั้น พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ได้ครอบครองไว้หนึ่งองค์ทราบว่าก่อนจะมรณภาพได้มอบให้แก่นายแพทย์สำเริง รัตนรพี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพยาธิวิทยาของโรงพยาบาลศิริราช
พระ สมเด็จที่ท่านสร้างส่วนใหญ่สร้างที่วัดระฆัง แต่ยังมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบว่าพระสมเด็จวัดระฆังไม่บรรจุกรุ และมีพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังเพียง ๕ พิมพ์ เท่านั้น ซึ่งวงการพระสมเด็จที่บูชาพระตามกระแสของสังคมเชื่อเช่นนั้น ส่วนกลุ่มที่บูชาพระสมเด็จจากการศึกษาค้นคว้าหาความจริงจากประวัติศาสตร์ เชื่อว่าพระสมเด็จมีมากมายหลายร้อยพิมพ์มีทั้งบรรจุกรุและไม่บรรจุกรุ และอาจจะมีนักเล่นพระบางกลุ่มที่มิอาจหลีกเลี่ยงหลักแห่งความเป็นจริงไปได้ ยอมรับว่ามีพระสมเด็จวัดระฆังมีสภาพเหมือนพระในกรุจริง เป็นพระฝากกรุเรียกกันว่า “พระสองคลอง” แต่ในหลักแห่งความเป็นจริงแห่งการสืบค้น และข้อสันนิษฐาน เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น และในหลายๆที่จะพบพระสมเด็จที่บรรจุในกรุมากมาย เช่น พระสมเด็จวัดอินทรวิหาร พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ พระสมเด็จวัดกลางคลองข่อย พระสมเด็จวัดกุฎีทอง พระสมเด็จวัดสะตือ พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) และอีกหลายวัดที่ได้ขอผงวิเศษของท่านไปสร้างพระเองก็มาก เช่น พระสมเด็จวัดพระแก้ว พระสมเด็จวัดพลับ พระสมเด็จปิลันท์ เป็นต้น ส่วนพิมพ์พระสมเด็จที่พบนั้นก็มีมากมายหลายร้อยพิมพ์ ที่นำมากล่าวอ้างถึงผมเองอยากจะให้ท่านที่เคารพกราบไหว้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และต้องการมีพระสมเด็จไว้บูชาจะได้ไม่เสียโอกาส และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งเป็นการสืบทอดทางพระพุทธศาสนาตามเจตนารมณ์อันบริสุทธิของท่านต่อไป พระสมเด็จไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดสร้างเมื่อใด อยู่ที่ไหน ล้วนแล้วแต่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณเป็นอเนกอนันต์ และที่สำคัญก็คือความยึดมั่นในคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ขอให้ท่านประพฤติดีมีศีลธรรม พุทธคุณ และอิทธิคุณแห่งพระสมเด็จจะอยู่ที่ใจท่านและคุ้มครองป้องกันภัย ให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจตลอดไป ขอให้ท่านผู้เลื่อมใสศรัทธาได้พิจารณาด้วยสติให้ถ่องแท้
พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดระฆัง ศิลปะโบราณในแต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
๑. สมัยเชียงแสน
๒ สมัยสุโขทัย
๓. สมัยอู่ทอง
๔. อยุธยา
๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น
พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดระฆัง
๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึงอวิชาที่คลุมพิภพ
๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง
จำนวนการสร้าง
ส่วนในเรื่องของจำนวนการสร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์
เป็น ปฐม ต่อจากนั้นจะสร้างเพิ่มอีกเท่าใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้ลูกศิษย์ใกล้ชิดที่มาช่วยท่านสร้างพระก็ยังไม่สามารถบอกได้ถึงจำนวนที่ แน่นอน อาทิเช่น พระภิกษุภู คือหลวงปู่ภูพระเกจิอาจารย์ชั้นยอดของเมืองไทยแห่งวัดอินทรวิหาร หลวงปู่คำ พระปลัดโฮ้ พระปลัดมินศร์ พระครูพิพัฒน์ พระใบฎีกา พระภิกษุพ่วง พระภิกษุแดง พระภิกษุโพ สามเณรเล็ก ทุกรูปขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามและวัดอัมรินทราราม ขรัวตาพลอย และท่านสุดท้ายที่กล่าวอ้างถึงคือ หลวงบริรักษ์โรคาพาธ (ฉุย) มีอายุใกล้เคียงกับท่าน มีบ้านอยู่วังหลังใกล้กับวัดระฆัง และมีตำแหน่งเป็นแพทย์หลวงในรัชกาลที่ ๔ ถึงแก่มรณกรรมเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ และเชื่อได้ว่าคงไม่เฉพาะท่านที่เอ่ยนามมาเท่านั้นอาจจะมีอีกหลายสิบหรือ หลายร้อยท่านที่เป็นสานุศิษย์ของท่าน ได้ช่วยกันสร้างพระสมเด็จก็เป็นไปได้
แบบพิมพ์ แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) จากการแกะแม่แบบโดยเจ้าฟ้าอิสราพงศ์ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร เป็นต้นสกุลจิตรปฏิมากร) หลวงวิจารเจียรนัย และช่างหลวงจากสกุลช่างสิบหมู่ จัดเป็นพุทธศิลป์ที่มีความวิจิตรงดงาม และได้รับการยอมรับเป็นพิมพ์นิยม ๕ พิมพ์ ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าพิมพ์เหล่านี้แกะถวายเมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว
๒. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของ นายเทศ ซึ่งเป็นหลานของท่าน เป็นช่างแกะพิมพ์พระ นายทอง ช่างติดกระจกหน้าบันพระอุโบสถที่อ่างทอง รวมทั้งสานุศิษย์และผู้ใกล้ชิด
๒.๑ แบบพิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่างๆ เช่น พิมพ์สมเด็จเกศไชโย ๓, ๖ ชั้น และ ๗ ชั้น พิมพ์ทรงฉัตร พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์ระฆังครอบ พิมพ์ทรงเจดีย์นอน พิมพ์แจวเรือจ้าง พิมพ์รูปเหมือน เป็นต้น
๒.๒ แบบพิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้นๆ และจัดสร้างตามแบบของท่าน เช่น พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์พระรอด พิมพ์ทุ่งเศรษฐี พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ขอบกระด้ง พิมพ์กลีบบัว พิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น
๓.พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างในสกุลช่างสิบหมู่แห่งตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ได้แก่ นายเจิม วงศ์ช่างหล่อ แกะพิมพ์แม่แบบทำด้วยโลหะลักษณะกดปั๊มแล้วตัดขอบเป็นพิมพ์นิยมหลังแบบสร้าง พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ บรรจุกรุเพดานพระอุโบสถ และพระวิหารวัดละครทำ เป็นต้น
๔.พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติโดย เฉพาะชาวจีน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะแกะตามจินตนาการ และฝีมือของแต่ละคน จึงเป็นพิมพ์มีความแตกต่าง ไม่ค่อยสวยงามนักมีลักษณะผิดไปจากพิมพ์นิยมมาก พิมพ์เหล่านี้มีมากมายสันนิษฐานว่ามีชาวบ้านแกะมาถวายว่าตั้งแต่ท่านเริ่ม สร้างพระจนกระทั่งท่านถึงแก่ชีพิตักษัย
การสืบค้นในตำรา และข้อเขียนของผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ว่า คุณหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการให้ความเห็นถึงกรรมวิธีในการสร้างพระ สมเด็จให้มีความคงทน สวยงาม ด้วยการเพิ่มมวลสารที่ยึดเกาะ และเป็นผู้หนึ่งที่ได้แกะพิมพ์พระสมเด็จถวายซึ่งกล่าวกันว่ามีความสวยงามไม่ น้อยเช่นกัน
วัสดุที่ใช้ในการสร้างพิมพ์
ดินเผา ไม้จันทน์ หินอ่อน หินลับมีดโกน ปูนขาว โลหะ ฯลฯ ในปัจจุบันพิมพ์แม่แบบเหล่านี้หาดูไม่ได้แล้วทราบแต่คำบอกเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ว่า “เมื่อท่านสิ้นพิมพ์พระสมเด็จส่วนหนึ่งจะอยู่ที่วัดระฆัง อีกส่วนก็กระจัดกระจายไปอยู่กับลูกศิษย์บ้าง ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้าง ไม่ได้เก็บรักษาไว้ตามที่ควร ในตอนหลังทราบว่าวัดได้ทำลายพิมพ์เหล่านั้นจนสิ้นด้วยเหตุแห่งมีการปลอมแปลง กันมาก”
หลักฐานพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง
อีกหลักฐานหนึ่งที่ สำคัญได้มีการจดบันทึกไว้เป็นประวัติพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังแต่ละพิมพ์ โดยหลวงปู่คำ (วัดอัมรินทร์) ซึ่งมีขุนพิทักษ์ราช นายเพชร นายเจิม นายพรเป็นผู้จดบันทึก ซึ่งก็เป็นในช่วงเวลาสุดท้ายของการ สร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้ถูกคัดลอกไว้ ซึ่งระบุเฉพาะแม่พิมพ์ที่ไม่ชำรุดแตกหัก อยู่ในสภาพดีในเวลานั้นเท่านั้น ซึ่งบันทึกไว้ว่า จำนวนแม่พิมพ์ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดี ดังนี้
๑. พิมพ์ประธาน ๕๑
๒.พิมพ์ใหญ่(พิมพ์ชายจีวร บาง หนา เส้นลวด) ๑๕๒
๓. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม ๓๑
๔. พิมพ์เกศบัวตูม ๔๑
๕. พิมพ์ปรก ๕๑
๖. พิมพ์ฐานคู่ ๓๑
๗. พิมพ์เส้นด้าย ๑๕๒
๘. พิมพ์สังฆาฏิ ๗๑
๙. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ ๑๖๑
๑๐.พิมพ์ทรงเจดีย์ ๒๑
นอกจากพิมพ์นิยมข้างบนนี้ ยังรวมพิมพ์คะเเนน และมีพิมพ์อื่น ๆ อีก ๘๓ พิมพ์
*** ที่สำคัญพบว่ายังมีอีกหลายร้อยพิมพ์ที่มิได้มีการจดบันทึกไว้เป็นรายลักษณ์อักษร
พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังที่เป็นพิมพ์นิยม
๑. พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๔. พิมพ์ปรกโพธิ์
๕. พิมพ์ฐานแซม
ประเภทของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. เนื้อผง
๑.๑ เนื้อน้ำมัน
๑.๒ เนื้อปูน
- เนื้อปูนเพชร
- เนื้อปูนขาวลงรักปิดทองล่องชาด
๑.๓ เนื้อสังคโลก
๑.๔ เนื้อหินลับมีดโกน
๑.๕ เนื้อชานหมาก
๑.๖ เนื้อมวลสาร (ข้าวสุก ก้านธูป เศษจีวร ทองคำเปลว)
๑.๗ เนื้อเกสรดอกไม้
๑.๘ เนื้อดินสอเหลือง
๑.๙ เนื้อผงใบลานเผา
๑.๑๐ เนื้อแป้งข้าวเหนียว
๒. เนื้อกระเบื้อง
๓. เนื้อดินเผา
๔. เนื้อโลหะ
๔.๑ เนื้อเงิน
๔.๒ เนื้อตะกั่วห่อใบชา
อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. อิทธิวิธี วิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต วิชาหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น
พระสูตรคาถาที่ลงในดินสอมหาชัยสร้างเป็นผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี
๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่นๆ
๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่ามีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน
เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
๖. ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป
การสร้างดินสอมหาชัย (ดินสอเหลือง)
ดินสอมหาชัยหรือดินสอเหลือง คือวัตถุมงคลที่นำมาเขียนอักขละเลขยันต์ในขณะเจริญพระสูตรคาถา ลบและได้ผงวิเศษนำมาเป็นส่วนผสมที่สำคัญยิ่งในการสร้างพระสมเด็จ มีส่วนผสมที่สำคัญ และการสร้างดังนี้
ใช้ดินสอพองบดละเอียด หรือนำดินสอพองแช่น้ำพอละลายผสมเข้ากับน้ำข้าวและน้ำอ้อยเพื่อให้เกิดการจับ ตัวสามารถปั้นเป็นแท่งขึ้นรูปได้ จากนั้นตากให้แห้ง และย้อมด้วยน้ำเถาตำลึงคั้นอย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันดินสอและผงติดมือขณะ เขียน นำมาเขียนลบขณะเจริญพระสูตรคาถา เมื่อเขียนลบจนได้ผงวิเศษแล้วจึงนำมาผสมกับมวลสารมงคลต่าง ๆ แล้วจัดสร้างเป็นพระสมเด็จต่อไป
มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชาม
เบญจรงค์ของไทย
๒. ปูนขาว
๓. หินอ่อน หรือ ศิลาธิคุณ
๔. ดินหลักเมือง ๗ หลัก
๕. ดินสอพอง
๖. ดินโปร่งเหลือง
๗. ข้าวสุก และอาหารสำรวม
๘. แป้งข้าวเหนียว
๙. กล้วยน้ำไทย
๑๐. ยางมะตูม
๑๑. น้ำผึ้ง หรือ น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๒. น้ำมันทัง
๑๓. ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธาน
๑๔. ผงใบลานเผา
๑๕. ดอกบัวสัตตบุษย์
๑๖. ดอกมะลิ
๑๗. ดอกกาหลง
๑๘. ยอดสวาท
๑๙. ยอดรักซ้อน
๒๐. ราชพฤกษ์
๒๑. พลูร่วมใจ
๒๒. พลูสองหาง
๒๓. กระแจะหอม
๒๔. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด
พุทธคุณ และอิทธิคุณ “อิทธิคุณ” คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ “พุทธคุณ” คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้าเพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระ คาถาใด ๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการกล่าวคำพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้อง
ข้อสรุปในการศึกษาการสร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ว่าเป็นพระสมเด็จ
๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้น ๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว
๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔’,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ เป็นปฐม อันเปรียบได้ถึงการระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างแบบพิมพ์มากกว่า ๒๐๐ พิมพ์ โดยแบ่งเป็น
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่)
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของท่าน
- ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนาเรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้น ๆ
-พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ
๕. พระสมเด็จวัดระฆังมีทั้งสร้างแล้วแจก กับสร้างแล้วนำบรรจุกรุ เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น
๑. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยา ทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓
๒. ประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” ปี พ.ศ. ๒๔๖๖
๓. ประวัติประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้แต่ง : พระครูกัลยาณานุกูล รวบรวมและเรียบเรียงจัดพิมพ์:พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายล้อม ฟักอุดม และนางพิมเสน ฟักอุดม ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2512พระมหาเฮง วัดกัลยาณมิตร
๔. หนังสือ “สมเด็จโต” โดย แฉล้ม โชติช่วง , มนัส ยอขันธ์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔
๕. หนังสือพระสมเด็จ โดยตรียัมปวาย ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
๖. หนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" โดย อธึก สวัสดิมงคล
๗. ประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) หนังสือ "๘๐ ปี เขตบางกอกน้อย" ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๘
๘. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๙. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธรรมโม
วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
๑๐.จาก บทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
๑๑. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗
๑๒. หนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะ นาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗
๑๓. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
๑๔. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
๑๕. ภาพเขียนบนผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร
๑๖. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๗. พระคัมภีร์และพระสูตรคาถา จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๘. ประวัติวัดระฆังโฆษิตาราม จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่มิได้บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลป์ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอ สมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับน้ำมันทังและระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๓. รอยปูไต่ และหนอนด้น “รอยปูไต่” ลักษณะเป็นรอยโค้งเล็ก ๆ หนักบ้างเบาบ้าง อาจเกิดเป็นคู่หรือเดี่ยว “รอยหนอนด้น” ลักษณะเป็นจุดบุ๋มเล็ก ๆ เป็นคู่ ๆเรียงกัน ทั้งสองชนิดเกิดบริเวณด้านหลังของพระสมเด็จ สมมุติฐานจากมวลสาร และเกสรดอกไม้ ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๔. ความแห้งมีลักษณะหลากหลายทั้งแห้งที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก อันเนื่องมาจากความหลากหลายของมวลสาร และวัสดุที่ใช้ แต่ที่สำคัญให้พิจารณาจากความหนึกนุ่ม มีความเงางามตามธรรมชาติ และความเก่าขององค์พระเป็นสำคัญ
๕. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้าง น้อยบ้างขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
๖. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๗. ชั้นผิวของพระสมเด็จที่ยังไม่ใช้หรือผ่านการใช้มาน้อย จะปรากฏร่องรอยของผิวพระเป็นชั้น ๆ เป็นวงเล็กบ้าง ใหญ่บ้างซ้อนกัน ลักษณะบาง ๆ ชั้นบนสีจะเข้มชั้นล่าง ๆ สีจะอ่อนลงตามลำดับ แต่ถ้าผ่านการใช้มาแล้วระยะเวลาที่พอสมควรสีของพระจะเป็นสีเดียวกัน หนึกนุ่ม สวยงาม
๘. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิษฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๙. การแตกลายงา มีสองชนิด คือ หนึ่งแบบหยาบ (สังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๑๐. รักชาดสีแดง ให้พิจารณาจากความเก่าของชาด สีของชาดไม่ว่าจะนาน เท่าใดสีจะยังคงแดง (แดงเลือดนก) ไม่ลอก ไม่หลุดล่วง ถ้าไม่ขูดหรือล้างออก
๑๑. รักสมุกสีดำ ให้พิจารณาจากความเก่าของรัก ความเก่าของรักสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ (คล้ายสีตาของกุ้ง) จะหลุดลอกออกเป็นแผ่นมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนชั้นที่ลง และกาลเวลา เป็นสำคัญ
๑๒. ทอง ให้พิจารณาจากสีของทอง เป็นทองคำเปลวทองเนื้อเก้า หรือที่โบราณเรียกกันว่าทองนพเก้าที่นำมาทำเป็นทองคำเปลว ลักษณะเงางาม พบการปิดทองพระสมเด็จทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และปิดทองทึบ (กรุเพดานวิหารวัดระฆัง) พระสมเด็จที่ลงรัก ชาด ทอง เรียกว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด”
๑๓. คราบไขขาวที่พบบนองค์พระสมเด็จนั้น ที่หลาย ๆ ท่านคิดว่าเป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลป์ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๓. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆ (เหมือนน้ำต้มไขมันของวัวเมื่อเย็นลงจะแลเห็นคราบไขลอยอยู่เป็นผาเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง) เคลือบอยู่บนองค์พระซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามบริเวณซอกขององค์พระ สีขาวนวลแกมเหลืองอ่อนๆ คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อนชื้นทำปฎิกิริยากับเนื้อมวลสาร พระสมเด็จในลักษณะนี้จะอยู่ตอนบนที่เรียกกันว่ากรุเก่า)
๔. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฟองละเอียดจนมองเห็นเป็นฝ้าขาวปกคลุมทั่วองค์พระมีความหนาบางไม่ เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะ แห้งติดองค์พระสมเด็จ ลักษณะการเกิดเช่นนี้จะเป็นไปได้ในสองประการก็คือคราบจากน้ำปูนภายในเจดีย์ (เพราะพระเจดีย์ที่บรรจุนั้นสร้างใหม่) และปฏิกิริยาที่เกิดจากเนื้อมวลสารในองค์พระสมเด็จกับสภาพแวดล้อมตาม ธรรมชาติพระชุดนี้จะอยู่ตอนกลางที่เรียกกันว่ากรุเก่า)
๕. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นวงเล็กบ้างใหญ่บ้าง ฟูบางเหมือนฟองของน้ำเต้าหู้ ใน ฟองเมื่อแตกจะสังเกตเห็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่นแข็งฝังแน่นในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้นแฉะ และถูกน้ำท่วมและลดลงทีละน้อย ถูกความร้อนที่สูงเป็นเวลานาน เป็นเช่นนี้สลับกันไปตามสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นจนเนื้อมวลสารใน ส่วนที่เป็นปูนเปลือกหอย และปูนขาวทำปฏิกิริยากับน้ำมันทัง (ทังอิ๊ว) พระสมเด็จในลักษณะนี้จะอยู่ตอนตอนกลางค่อนมาทางด้านล่างที่เรียกกันว่ากรุ เก่า)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ สี น้ำตาลอ่อน และเข้ม อันเกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานานพระ สมเด็จในลักษณะนี้จะพบได้ไม่มากนักและจะอยู่ตอนล่างเรียกกันว่าพระกรุใหม่)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอ สมควรเกิดขึ้นได้ทั้งพระสมเด็จที่ไม่บรรจุกรุ และบรรจุกรุ (พระที่บรรจุกรุจะเกิดขึ้นได้ยากกว่า ต้องใช้เวลามากกว่า ความหนึกนุ่มและสีจะด้อยกว่า) สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากเนื้อมวลสารสำคัญทำปฏิกิริยากับน้ำมันทัง โดยมีระยะเวลาตามธรรมชาติเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ คราบน้ำผึ้งถือเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญและพบมากในสกุลพระสมเด็จ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๙. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๑๐. การหดตัวและรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จเปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
การสร้างพระสมเด็จและอานุภาพพระสมเด็จวัดระฆัง
อานุภาพพระสมเด็จวัดระฆัง
ผู้ที่มีจิตใจที่ดีบริสุทธิ์สดใสเท่านั้น ที่จะได้รับอานุภาพที่ดีจากพระสมเด็จ
1. บูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองผาสุขในกิจการงาน แห่งชีวิตของผู้มีไว้ติดตัวจะทำให้เกิดโภคทรัพย์ในสุจริตวิถี
2. คุ้มครองป้องกันอันตรายให้แคล้วคลาดจากภัยทั้งหลายทั้งปวงเฉพาะในผู้ที่เป็นสุจริตชน
ผู้ทำมาหากินด้วยแรงกายแรงสติปัญญาในทำนองคลองธรรม ในทางตรงกันข้ามพวกมิจฉาชีพดำรง
ชีวิตด้วยความเดือดร้อนของบ้านเมืองและประชาชนตลอดจนถึงการขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม
แม้มีพระสมเด็จไว้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมือก็จะเร่งให้มีแต่ความทุกข์โศกมีภัยตลอดกาล
วิธีอาราธนาพระสมเด็จวัดระฆัง
ตั้งนะโมสามจบระลึกถึงเจ้าประคุณพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
หากสวดชินบัญชรได้ควรสวดหนึ่งจบ ก่อนที่จะนำพระสมเด็จติดตัวไป ให้ทำดังนี้
เมื่อยกสร้อยขึ้นจะคล้องคอ องค์พระอยู่ในอุ้มมือ พนมมือแล้วท่องคาถาอาราธนาดังต่อไปนี้
" โอมมะศรี มะศรี พรมรังสี นามะเตโช มหาสมโณ มหาปัญโญ
มหาลาโภ มหายะโส สัพพะโสตถี ภะวันตุเม"
เมื่อจบแล้วให้ท่องคาถาขอลาภว่า
"ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะยังสุตวา"
เมื่อคล้องคอให้ท่องคาถาคุ้มครองชีวิตว่า
"อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อรหังสุคโต นะโมพุทธยะ"
ทำได้เช่นนี้ทุกวันท่านจักมีความสุขความเจริญ และนิรันตรายทั้งปวง
รูปภาพข้างบน เป็นรูปสมุดบันทึกประวัติของพิมพ์พระสมเด็จ พิมพ์นิยม
บันทึกประวัติของพิมพ์พระสมเด็จแต่ละพิมพ์นิยมโดยหลวงปู่คำ (วัดอัมรินทร์) ในช่วงเวลาสุดท้ายของการ สร้างพระ พระสมเด็จโดยพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้ถูกคัดลอกไว้ซึ่งระบุไว้เฉพาะแม่พิมพ์ที่ ไม่ชำรุดแตกหัก ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดีในเวลานั้นเท่านั้น มีดังนี้
พิมพ์ จำนวนแม่พิมพ์ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดี พิมพ์คะแนน
1. พิมพ์ประธาน 5 1
2. พิมพ์ใหญ่ ( พิมพ์ชายจีวร บาง, หนา, เส้นลวด) 15 2
3. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม 3 1
4. พิมพ์เกศบัวตูม 4 1
5. พิมพ์ปรกโพธิ์ 5 1
6. พิมพ์ฐานคู่ 3 1
7. พิมพ์เส้นด้าย 15 2
8. พิมพ์สังค์ฆาฏิ 7 1
9. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ 16 1
10. พิมพ์ทรงเจดีย์ 2 1
นอกจากพิมพ์นิยมข้างบนนี้ รวมพิมพ์คะเเนน (คือพิมพ์พระสมเด็จที่ถูกย่อส่วนลงมา) แล้วยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกถึง 83 พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จนั้น พุทธศิลป์มีทั้งพิมพ์ที่สวยงามและพิมพ์ไม่สวย พิมพ์พระที่สวยนั้นทำโดย ช่างหลวง เช่น หลวงวิจารย์ เจียรนัย ฯลฯ เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย (ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าพิมพ์นิยมนั่นเอง) ส่วนพิมพ์ที่ไม่สวยส่วนมากแกะพิมพ์โดยช่างที่เป็นชาวบ้าน
ธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง มองทางกายภาพ
จากเลนส์ขยายในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังเท่าที่ได้สัมผัสมา มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าประกอบด้วย มวลสารดังต่อไปนี้
1. จุดสีขาวขุ่น มีทั้งขนาดใหม่และเล็ก ขนาดเล็กตั้งแต่ปลายเข็มหมุดขนานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็เคยพบ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในเนื้อพระละเอียดแน่นนอน และ เนื้อพระชนิดหยาบเนื้อไม่แน่นนอน สันนิษฐานว่าคือ เม็ดพระธาตุ และเปลือกหอย
2. จุดสีแดงหรือสีแดงอิฐ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเศษพระเครื่องหักของ กำแพงเมืองเพรช สมัยที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้ไปเดินธุดงค์พบพระเนื้อดินหัก แต่ยังเต็มเปี่ยมไป ด้วยพระพุทธคุณ จึงนำมาสร้างพระเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และความขลังแก่พระสมเด็จ
3. จุดสีดำ มีขนาดเล็กก็คือ เกสรดอกไม้ เม็ดกล้วย ถ้าเป็นขนาดกลาง สันนิษฐานว่าเป็นผงถ่านใบลาน และถ้าเป็นลักษณะยาว สันนิษฐานว่าเป็นกานธูป
4. จุดสีเขียวคล้ายสีคราม มีลักษณะใหญ่เล็กแล้วแต่จะพบในองค์พระ สันนิษฐานว่าเป็นหินเขียวหรือ ตะไคร่ ใบเสมา
5. จุดสีน้ำตาลอ่อน และ น้ำตาลแก่ สันนิษฐานว่า คือเกสรดอกไม้แห้งนานาชนิด อาจเป็นดอกไม้108 (ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระ)
6. เม็ดทรายเสกขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
7. เม็ดขาวขุ่นหรือพระธาตุ ส่วนมากจะพบกระจายอยู่ทั่วไปในองค์พระบางองค์ พบอยู่ด้านหลัง บางองค์ไม่พบ
8. ทองคำเปลว ที่ติดพระประธานในโบสถ์วัดระฆัง ใช้บดละเอียดผสมในเนื้อพระ
9. ผงวิเศษที่พบเป็นก้อน คล้ายกับก้อนดินสอพองก็คือ ผงวิเศษที่ได้จากผงอิทธิเจ ผงปัตถะมัง ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช
10. การยุบตัวของเนื้อพระสมเด็จ เกิดจากปฎิกริยาการหดตัว แห้งตัว ยุบตัวของเศษอาหาร จึงทำให้ เนื้อพระยุบตัวลง ระยะเวลาและความร้อนของอากาศหลายๆปี ฤดูกาลธรรมชาติ
11. ที่แลเห็นพระบางองค์มีความมันบนองค์พระมาก เพราะว่าในเนื้อพระผสมนำมันตั้งอิ้วมากกว่าปกติ เนื้อพระชนิดนี้จึงหนึกนุ่มอยู่เสมอ ทำให้เนื้อพระเก่าได้ยาก
12. พระสมเด็จกับการลงรักปิดทอง พระสมเด็จวัดระฆังบางองค์มีการลงรักปิดทองไว้ แล้วในภายหลัง ได้ถูกล้างออก ซึ่งก็ทำให้สามารถดูเนื้อพระได้ง่ายขึ้น
13. คราบสีขาวบนองค์พระมักจะพบในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมี 2 นัย นัยแรกเกิดจากแป้งโรยพิมพ์พระ ในตอนสร้าง (สันนิษฐานว่าใช้แป้งขาวเจ้าผสมปูนขาว) นัยที่สองเกิดจากเชื้อราบางชนิดซึ่งเกิดขึ้นเนื่อง มาจากการเก่าเก็บไว้เป็นเวลานานซึ่งไม่มีผลทำให้ผิวพระเสียแต่อย่างใด ซี่งถ้าใช้นิ้วถูออกคราบสีขาว ก็จะหายไปและจะไม่มีผงฝุ่นสีขาวติดนิ้วเลย แต่ไม่ควรถูออกเพราะคราบสีขาวเป็นการแสดงความเก่า ความมีอายุอันยาวนานขององค์พระ
14. รอยปริแยกแตกบนผิวพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัว หดตัวของเนื้อพระเนื่องจาก ความชื้นและอุณหภูมิในอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเนื้อพระมีส่วนผสมน้ำมันตังอิ้วที่เหมาะสมเป็นตัว ประสานเนื้อพระก็จะไม่พบลอยปริแตกบนผิว
15. กลิ่นหอมในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ส่วนผสมมวลสารในเนื้อพระมีดอกไม้และ เกสรหลายชนิดรวมกัน รวมทั้งน้ำมันจันทน์ด้วย จึงทำให้พระสมเด็จมีกลิ่นหอม
16. รอยแตกลายงาบนผิวพระสมเด็จวัดระฆังเกิดจากการแห้งและหดตัวของผิวเนื้อพระ ชั้นนอกเร็วกว่า เนื้อพระชั้นใน พบได้ในองค์พระที่มีผิวระเอียดหนึกนุ่ม
มวลสารของเนื้อพระสมเด็จ
1. ดินสอมหาชัย ใช้เขียนลงเป็นผง วิเศษ 5 ประการ อันได้แก่ - ผงพระพุทธคุณ - ผงปัตถะมัง - ผงตรีนิสิงเห - ผงมหาราช - ผงอิทธิ ดินสอมหาชัยเป็นผงดินสออาถรรพณ์ทำจากดินขาวอันบริสุทธิ ผสมด้วย น้ำคั้นใบตำลึง ยอดสวาท ยอดกาหลง ยอดรักซ้อน ดินโป่ง ไคลเสมา ยอดชัยพฤกษ์ ยอดราชพฤกษ์ ยอดมะลิจากข้าวในยาตร ทั้งหมดเป็นมวลสารพระพุทธคุณ และได้ถือหลักการคุลีเนื้อพระจากตำรับไสยเวทย์ และเพทางคศาสตร์
2. ข้าวหอมจากบาตร บรรจุในชามเบญจรงค์ อันเป็นของที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาโดยเฉพาะ
3. กล้วยน้ำไท ผสมยางมะตูมทั้งสองสิ่งนี้เก็บรักษาไว้ในขันสัมฤทธิ์ ไม่บูด ไม่เสีย
4. เกสรบัวสัตตบงกช พร้อมทั้งเกสรดอกไม่ป่าจากเมืองสุโขทัย เมื่องกำแพงเพชร เป็นเกสรที่เจ้าคุณ สมเด็จฯ ได้รวบรวมไว้ถึง 108 ชนิด
5. เปลือกหอย ขาวบริสุทธิ์ นำมาป่นจนละเอียดแล้วผ่านกรรมวิธีจนกลายเป็นปูนเปลือกหอย มวลสาร ชนิดนี้เมื่อ ปลุกเสกและอบด้วยพระเวทย์มนตราอาถรรพณ์แล้วจะเกิดทรายทองขึ้นเองด้วยวิทยาคม ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
6. น้ำมันตั้งอิ๊ว เป็นตัวประสานมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระให้ยึดรวมกันอย่างเหนียว ทั้งกระทำให้เนื้อพร ชุ่มชื่นอีกด้วย
7. วัสดุอื่นๆ ที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าข้างต้นนี้ ฯลฯ
ปฏิกิริยาจากผงวิเศษห้าประการ
พระสมเด็จอันเกิดจากผงวิเศษห้า ประการ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นสิ่งที่เกิดจากปูนเปลือกหอยเป็นหลัก แต่ประชาชน เรียกกันว่า "พระผง" เมื่อพิจารณาด้วยสายตาโดยใช้เลนส์ขยาย จะแลเห็นบนพระมีจุดเล็กๆ เรียกว่ารูพรุนปลาย เข็มเกิดเป็นหมู่ๆ ประปรายอยู่ทั่วบริเวร ผิวขององค์พระ รวมทั้งแผ่นพื้นฐานด้วย
รอยปูไต่
มีลกษณะ บุ๋มลึกลงไปรอยนี้มักเกิดเป็นคู่ๆเรียงกันไปเป็นทางคล้ายรอบปู จึงเรียก กันว่า "รอยปูไต่" รอยนี้เกิดขึ้นประปรายทั่วแผ่นพื้นฐานขององค์พระ
รอยหนอนด้น
บนผิวขององค์พระ เมื่อใช่เลนส์ขยายกำลัง 10 เท่า ส่องจะเห็นรอยโค้งเล็กๆ คล้าลายตัวหนอนขาดเล็กมากปรากฏอยู่ รอยนี้ไม่ปรากฏในพระแบบอื่นนอกจากพระของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เท่านั้น ผู้ศึกษาพึงพิจารณาให้ละเอียด
บ่อน้ำ และลำธาร
เกิดบนผิวพื้นฐานขององค์พระอยู่โดยทั่วไป สมมติว่าเราขึ้นไปอยู่บนที่สูงๆ แล้วใช่กล้องส่องดูดาวที่มีกำลังขยายมากๆ ส่องดูดวงจันทร์ เราจะแลเห็นบนพื้นผิวดวงจันทร์ปรากฏเป็น หลุมเป็นบน่อ หุบ เหว ภูเขา และสายลำธาร ซึ่งขอเรียกว่า"ผิวพระจันทร์" อันเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดในองค์ พระสมเด็จโดยเฉพาะ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ปรากฏอันเป็นความงดงามขององค์พระสมเด็จ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจะมีผู้โชคดี ได้เป็นเจ้าของพระสมเด็จ เมื่อใช้เลนส์ขยายดูเนื้อพระ เขาจะเฝ้าดูแล้วดูเล่าอย่างไม่รูสึกเบื่อหน่าย ในความงามอันน่าอัศจรรย์ของพระผงวิเศษของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ชึ่งสามารถแลเห็นมวลสารเกสรเป็นจุดรูปต่างๆกัน มีสีสันแปลกๆเช่น สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีเขียว สีเทา สีน้ำตาล ฯลฯ มวลสารเกสรนี้ช่อนตัวของมันอยู่เงียบๆ ต้องใช้เวลาในการดูนานจึงจะปรากฎ ให้เห็น
ความหมายอย่างมีเหตุผลของมวลสารชึ่งมีส่วนผสมในเนื้อสมเด็จ ที่มีคุณวิเศษในตัวเองดังนี้
1. ผงวิเศษ ในการทำพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มี 5 ชนิด
1.1 ผงพุทธคุณ มีพลางนุภาพทาง แคล้วคลาด และ เมตตามหานิยม
1.2 ผงปัตถะมัง มีพลางนุภาพทาง คงกระพันชาตรี
1.3 ผงตรีนิสิงเห มีพลางนุภาพทาง มหาเสน่ห์
1.4 พงมหาราช มีพลางนุภาพทาง มหาอำนาจทั่วไป
1.5 ผงอิทธิเจ มีพลางนุภาพทาง เมตตามหานิยม
2. ไม้มงคล
2.1 ดอกสวาท มีคุณทาง มหานิยม คนรักทั่วไป
2.2 ดอกกาหลง มีคุณทาง ใครเก็นใครชอบ
2.3 ดอกรักซ้อน มีคุณทาง มหาเสน่ห์
2.4 ดอกกาฝากรัก มีคุณทาง เมตตามหานิยม
2.5 ดอกชัยพฤกษ์ และดอกราชพฤกษ์ มีคุณทาง มหาอำนาจ และ แคล้วคลาดภัยทั้งปวง
2.6 ดอกว่านางคุ้ม และ ดอกว่าน มีคุณทาง คุ้มกันอันตรายแก่คนทั่วไป
2.7 ดอกว่านเสน่ห์จันทน์ขาว จันทน์แดง จันทน์ดำ มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และ คลาดแคล้ว
2.8 ดอกว่านนางกวัก มีคุณทาง มหานิยมแก่คนทั่วไป
2.9 ว่านพระพุทธเจ้าหลวง มีคุณทาง คงกระพันชาตรี มหาอำนาจ
2.10 ใบพูลร่วมใจ มีคุณทาง มหานิยมแก่คนทั่วไป
2.11 ใบพลูสองทาง มีคุณทาง กันการกระทำ และอันตรายคลาดแคล้ว
2.12 ผงเกสรบัวทั้ง5 และเกสรดอกไม้108 มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และแคล้วควาด
3. ดินอาถรรพณ์
3.1 ดิน 7 โป่ง ที่เสือลงมากิน มีคุณทางมหาอำนาจ ใครเห็นใครกลัวเกรงทั่วไป
3.2 ดิน 7 ป่า มีคุณทางเมตตามหานิยม
3.3 ดิน 7 ท่า มีคุณทางคลาดแคล้ว
3.4 ดิน 7 สระในวัด มีคุณทางเมตตามหานิยมของคนทั่วไป
3.5 ดินหลักเมือง มีคุณค่าทางมหาเสนห์แก่ตัวเอง
3.6 ดินตะไคร่เจอดีย์ มีคุณทาง กันภูตผีปีศาจ และกันเสนียดจัญไร
3.7 ดินตะไคร่รอบโบสถ์ มีคุณทาง ป้องกันอันตรายทั่วไป
3.8 ดินตะไคร่ใบเสมา มีคุณทางมหานิยม เมตตา และแคล้วคลาด
3.9 ดินสอขาว หรือ ดินขาว (ดินสอพอง) สำหรับเขียนยันต์ตามสูตรพระเวท มีคุณทางแก้อาถรรพณ์
3.10 ดินกระแจะปรุงด้วยของหอม มีคุณทาง เมตตามหานิยม
4. ผงดำ คือ แม่พิมพ์พระที่แตกหักชำรุด นำมาเผาเป็นถ่าน แล้วนำมาบดผสม พงถ่านใบลาน (คือ ใบลานและคัมภีร์เก่าๆ นำมาเผาจนเป็นถ่าน) แล้วนำมาผสมกันเป็นผงดำ มีคุณทางคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด
5. ตะไลพระกริ่ง มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองเหลือง มีคุณค่าทาง คงกระพันชาตรี
6. ตะไบเงินตะไบทอง มีคุณทาง ร่ำรวย โชคลาภ
7. พระธาตุทั้ง 5 ชนิด มีคุณทาง การมีสิริมงคล โชคลาภ
8. จุดแดง เกสรดอกไม้ 108 มีคุณทางมหาเสน่ห์ มหานิยม
9. เศษพระกำแพงหัก (อิฐกำแพง) มีคุณทาง คงกระพันชาตรี โชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา
ขนาดขององค์พระซุ้มครอบแก้วที่สามารถหามาได้โดยวัดขนาดจากองค์ที่มีอยู่จริง
พิมพ์ ขนาดองค์พระซุ้มครอบแก้ว (กว้าง x สูง x หนา) 1. พิมพ์ประธาน (ไม่มีข้อมูล) 2. พิมพ์ใหญ่ ( พิมพ์ชายจีวร บาง, หนา, เส้นลวด) (2.2-2.5 ชม x 3.4-3.7 ชม x 4-6 มม) 3. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม (2.0-2.2 ชม x 3.4-3.5 ชม x 3-4 มม) 4. พิมพ์เกศบัวตูม (2.1-2.2 ชม x 3.4-3.6 ชม x 4-5 มม) 5. พิมพ์ปรกโพธิ์ (2.2-2.4 ชม x 3.4-3.8 ชม x 4-5 มม) 6. พิมพ์ฐานคู่ (ไม่มีข้อมูล) 7. พิมพ์เส้นด้าย (ไม่มีข้อมูล) 8. พิมพ์สังค์ฆาฏิ (ไม่มีข้อมูล) 9. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ (ไม่มีข้อมูล) 10. พิมพ์ทรงเจดีย์ (2.2-2.4 ชม x 3.2-3.4 ชม x 4-6 มม)
ยุคของการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
หลังจากที่ได้สอนวิธีตรวจสอบพระสมเด็จวัดระฆังด้วยตนเองแล้ว (ตรวจสอบพระในยุคกลางถึงปลาย 2409-2415)ต่อมาเราจะมาศึกษาในเรื่องของยุคของการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังกัน ต่อ เพื่อให้เข้าใจว่า พระสมเด็จวัดระฆังไม่ได้สร้างแค่ครั้งเดียว โดยได้เขียนสรุปการสร้างแต่ละยุคและสุดท้ายจะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของ พระในยุคแรกและยุคกลาง (เนื่องจากเป็นการรวบรวมจาก หนังสือหลายเล่มและนำมาสรุปคร่าวๆ หากท่านใดมีความรู้เพิ่มเติม สามารถแสดงความคิดเห็นหรือให้คำชี้แนะซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง)
สม เด็จพุฒาจารย์(โต) สร้างพระพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2368 (อายุ 37 ปี) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระครูโต” และสร้างเรื่อยมาหลายบล็อกพิมพ์ ในขณะนั้นเรียกว่า “พระพิมพ์” ขนาดชิ้นฟัก มีขนาดต่าง ๆ ต่อมาเรียกพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” เมื่อครั้งเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ทรงได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี”เมื่อปี พ.ศ. 2407 และได้เรียก “พระสมเด็จวัดระฆัง” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
จาก บันทึกตำนานเก่าแก่ และคำบอกเล่า ของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ เกี่ยวกับการสร้างพระพิมพ์ ประกอบกับมีคำจารึกการสร้างพระพิมพ์ ไว้ข้างฐานรูปหล่อท่านั่งเนื้อสำริดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขนาดต่าง ๆ ที่มีผู้ใจบุญเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสถานที่หลายแห่ง สอดคล้องกับคำบอกกล่าวของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในสมุดโบราณ
จาก หลักฐานและความเป็นมา การสร้างพระพิมพ์ เชื่อได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จ สร้างอยู่ 3 แผ่นดิน หรือ 3 ยุคสมัยตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2368 จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สร้างครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2414 รวมการสร้างพระพิมพ์ประมาณ 14 ครั้ง และแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394)
ยุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2399 –2411 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411)
ยุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2412 –2414 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411 - 2453)
มีรายละเอียดการสร้างพระพิมพ์ หรือพระสมเด็จ ดังนี้
ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 )
1. ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”
2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”
3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์
4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม
5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”
6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง
7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก”
ซึ่ง การสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์
ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
1. ปี พ.ศ. 2399 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์
2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”
3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”
5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวี
ยุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย
2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
credit
http://suchart-neolife.blogspot.com/2013/02/blog-post.html
|